Meet our Production
Anti-Bacteriaผ้าชุดปฏิบัติการกันน้ำกันน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ผ้าชุดเครื่องแบบคุณสมบัติพิเศษ ที่ทางกองทัพได้ทำการวิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพื่อความคงทน น้ำหนักเบา สะดวกสบายในการใช้งาน และดูแลรักษาง่าย คือชุดปฏิบัติการกันเปื้อนกันน้ำกันน้ำมัน เป็นนาโนเทคโนโลยี (NANOTECHNOLOGY) คำว่า NANOTECHNOLOGY เป็นคำพูดที่ได้ฟังกันบ่อยมาก และกลายเป็นกระแสสังคมไปแล้ว แต่ทราบไหมว่านาโนเทคโนโลยี สามารถทำอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ นาโนเทคโนโลยีนั้นสามารถเปลี่ยนวัสดุธรรมดาๆ เช่นผ้าฝ้าย หรือเส้นใยสังเคราะห์ธรรมดา ให้เป็นผลิตภัณฑ์สุดยอดไฮเทคที่สามารถทำให้เราได้สวมใส่เสื้อผ้าไร้รอยเปื้อน ไม่เปียกทั้งน้ำและน้ำมัน และสามารถตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายอยู่ตลอดเวลา ความหมายของนาโนเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ โดยการเข้าไปจัดการ การเรียงตัวของอะตอม และโมเลกุลอย่างถูกต้องแม่นยำ ในช่วง 1 ถึง 100 นาโนเมตร ( 1 นาโนเมตร เท่ากับ หนึ่งในพันล้านส่วนของเมตร หรือเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมประมาณ 100,000 เท่า) โดยทั่วไปแล้ว นาโนเทคโนโลยีมักจะเกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งต่างๆ จากการประกอบสิ่งเล็กๆ ให้กลายเป็นสิ่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (Bottom-up APPROACH) เช่น การเอาอะตอมมาเชื่อมต่อกันทีละอะตอม หรือ เชื่อมโมเลกุลทีละโมเลกุล ซึ่งจะทำให้วัสดุและอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์แบบตรงตามความต้องการมากที่สุด หรือมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นาโนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสิ่งทอในความจริงแล้ว เส้นใยในธรรมชาติทุกชนิดถูกสร้างขึ้นมาจากนาโนเทคโนโลยีอยู่แล้ว เช่น เส้นใยของผ้า ขนสัตว์ และผ้าไหม ก็เกิดจากที่โมเลกุลของโปรตีน มาเรียงตัวต่อกันทีละโมเลกุลอย่างเป็นระเบียบ เส้นใยเซลลูโลสของผ้าฝ้ายก็เกิดจากการจัดเรียงของโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสทีละโมเลกุลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ ในการผลิตเส้นใยผ้าระดับอุตสาหกรรมโดยเรียงอะตอมทีละอะตอม โมเลกุลทีละโมเลกุล เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ในทางปฏิบัติเพราะเป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลานานมาก อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ได้ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในการนำวิทยาการด้านนาโนเทคโนโลยีมาใช้ ปรับปรุงคุณสมบัติของเส้นใยธรรมชาติทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ตลอดจนผ้าใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ และไนลอนได้เป็นครั้งแรก ซึ่งวิธีการที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ สามารถทำได้อย่างง่าย ๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่โรงงาน ผลิตสิ่งทอส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนที่ใช้ในการติดตั้ง เครื่องมือไฮเทคราคาแพง สิ่งที่เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จคือ การพัฒนาสารเคมี และวิธีการเคลือบเส้นใยต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น เช่นไม่เปียกทั้งน้ำและน้ำมัน ไร้รอยเปื้อน เป็นต้น โดยการให้สารเคมีที่พัฒนาขึ้นมาสามารถสร้างพันธะทางเคมี (โดยเฉพาะพันธะโควาเลนท์) กับโมเลกุลของเส้นใยประเภทต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะทำให้สารเคมีติดแน่นอยู่กับเนื้อผ้าได้เป็นเวลานาน และไม่หลุดออกจากเส้นใยผ้าในขณะการซักรีด นอกจากนี้สารเคมีที่ใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติของผ้า ยังมีขนาดที่เล็กมากจึงทำให้เนื้อผ้ายังคงมีคุณลักษณะ และมีสัมผัสเหมือนเดิมทุกประการ ผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไม่เปียกทั้งน้ำและน้ำมันโดยการใช้นาโนเทคโนโลยี มาเปลี่ยนคุณสมบัติของผ้า เส้นใยธรรมชาติ เช่นผ้าฝ้าย ลินิน และผ้าไหม รวมทั้งผ้าเส้นใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน และโพลิอรามิด ให้เป็นเส้นใยพิเศษที่ไม่เปียกทั้งน้ำและน้ำมัน รวมทั้งคราบสกปรกทุกชนิด โดยที่เสื้อผ้าประเภทนี้จะยังคงมีคุณสมบัติคงเดิมทุกประการ แม้ว่าจะผ่านการซักหลายครั้ง นอกจากนี้ความร้อนระหว่างการรีดผ้าจะช่วยรักษาคุณสมบัติในการกันน้ำ และน้ำมันของเสื้อผ้าให้อยู่คงนานมากขึ้นด้วย ข้อได้เปรียบของการใช้นาโนเทคโนโลยี ในการสร้างคุณสมบัติในการกันน้ำและน้ำมันให้กับเสื้อผ้า คือเนื้อผ้า จะยังคงความนุ่มและระบายอากาศได้ดีเหมือนเดิมทุกประการ ผิดกับวิธีการผลิตผ้า กันน้ำและกันน้ำมันแบบเดิม ที่มักจะทำให้ผ้ามีสัมผัสแข็งกระด้าง และระบายอากาศไม่ได้ ทำให้สวมใส่ไม่สบาย การนำสารเคมีประเภท เทปลอน (TEFLON) ที่ใช้ในการเคลือบอุปกรณ์ เครื่องครัว เช่นกระทะหรือหม้อ มาเคลือบเส้นใยของเสื้อผ้า เทปลอนจัดเป็นสารเคมีระดับ นาโนเทคโนโลยี ที่มีความ “ลื่น” ที่สุดในโลกที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา จึงทำให้เสื้อผ้าที่ถูกเคลือบด้วยสาร เทปลอน สามารถกันได้ทั้งน้ำและน้ำมัน ตลอดจนสิ่งสกปรกต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สถาบัน MIT ที่มีชื่อเสียงได้ร่วมมือกับกองทัพสหรัฐอเมริกา ได้นำนาโนเทคโนโลยีมาผลิตเครื่องแบบทหารที่มีคุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน กันเปื้อน และป้องกันเชื้อโรค สหภาพยุโรป (EUROPEAN UNION) ก็ได้พัฒนา นาโนเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศภาคพื้นยุโรปเช่นกัน และมีการผสมอนุภาคนาโนของธาตุเงิน (Silver nanoparticle) เข้าไปในผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย และระงับกลิ่นเหม็นได้เป็นอย่างดี ในประเทศญี่ปุ่น ก็มีบริษัททางด้านสิ่งทอ นำนาโนเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสินค้า เช่น บริษัท NISSHINBO ได้พัฒนาสิ่งทอ นาโนเทคไร้กลิ่นเหม็นอับ และสามารถกำจัดแบคทีเรียได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ ผ้าชุดเครื่องแบบ กันน้ำ กันน้ำมันกันเปื้อน และต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทางราชการร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาขึ้นมา เป็นการตกแต่งผลิตภัณฑ์ผ้าชุดเครื่องแบบทหาร ที่ปฏิบัติงานด้วยสารประเภท TEFLON รวมกับสาร SILVER PLUE เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมและยังคงความนุ่ม และระบายอากาศได้ดีเหมือนเดิมทุกประการ การตกแต่งผ้าด้วยสารกันน้ำกันน้ำมัน ผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติทุกชนิด มีความสามารถสูงในการดูดซึมน้ำ สิ่งนี้เป็นคุณสมบัติเด่นของ เส้นใยธรรมชาติ เพราะทำให้การสวมใส่สบาย ดูดซับน้ำและเหงื่อได้ดี ทำให้ไม่ร้อน และระบายอากาศดี ในทางตรงกันข้าม การใช้งานบางประเภท ที่ต้องการให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมจากคุณสมบัติเด่นของเส้นใยธรรมชาติ คือเพิ่มเติมคุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน และคราบสกปรกอื่น ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ชุดเครื่องแบบผ้าสีลายพราง ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ต้องมีคุณสมบัติในการกันน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สวมใส่เปียก และมีน้ำหนักของชุดปฏิบัติการเบา เพราะผ้าไม่อมน้ำ ทำให้ปฏิบัติงานได้คล่องตัวแม้จะอยู่ในน้ำและขึ้นจากน้ำ ชุดปฏิบัติการจะแห้งเร็ว และขจัดคราบสกปรกอื่น ๆ ได้ง่ายและ ป้องกันไม่ให้คราบสกปรกฝังแน่นในเนื้อผ้า ง่ายต่อการทำความสะอาด เช่นคราบเลือด และสิ่งสกปรกอื่น ๆ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติพิเศษจากสารกันน้ำกันน้ำมันที่ผลิตขึ้นมาจาก นวัฒกรรมนาโนเทคโนโลยี การค้นคว้า ทดลอง สามารถสังเคราะห์สารขึ้นมาใหม่โดยมีคุณสมบัติ ของการกันน้ำ กันน้ำมันและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม สารดังกล่าวเรียกว่า ฟลูออร์โรคาร์บอน (FLUOROCARBON) ฟลูออร์โรคาร์บอนโพลีเมอร์ เป็นสารเคมีที่ถูกพัฒนาด้วย เทคโนโยลีสูงสุด และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับวัสดุที่มีความหลากหลาย (เช่น บนผ้า, หนัง, กระดาษ และหิน เป็นต้น) เพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิภาพของการกันน้ำ กันน้ำมัน และกันคราบสกปรก ในวงการสิ่งทอ สารกันน้ำกันน้ำมันถูกใช้ทั้งบนเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือน รวมถึงสิ่งทอด้านเทคนิคสำหรับ การป้องกันที่คงทนเพื่อต่อต้าน ฝน หิมะ สิ่งสกปรก และรอยเปื้อนต่าง ๆ ไม่ให้สามารถติดอยู่บนผ้าได้ ที่สำคัญสารกันน้ำกันน้ำมัน จะไม่ทำให้ผิวสัมผัสบนผ้าเสียไป การทำงานของฟลูออร์โรคาร์บอน และประสิทธิภาพที่ได้รับ การที่น้ำหรือของเหลวหยดลงบนผิวหน้าของผ้า และเมื่อไหร่จะเกิดการต้านทานน้ำและน้ำมัน คำตอบง่าย ๆ คือ เกิดจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเคมี ของแข็งทุกประเภท และของเหลวทุกประเภทจะมีพลังงานพื้นผิว (SURFACE ENERGY) ในกรณีของเหลวเราจะคุ้นเคยในชื่อ แรงตึงผิว (SURFACE TENSION) ไม่ว่าของเหลวใดถูกต้านทานบนพื้นผิว ขึ้นอยู่กับพลังงานผิว เช่น พลังงานผิวบนผ้า ต่ำกว่าของเหลวที่สัมผัสโดนผ้า ก็จะทำให้เกิดการต้านทาน ถ้าผ้ามีพลังงานผิวที่สูง และของเหลวมีแรงตึงผิวที่ต่ำผ้าก็จะเกิดการเปียก
ผ้าที่มีการตกแต่งด้วยสารกันน้ำที่เป็นแว็กซ หรือ ซิลิโคน ก็จะให้ผลการกันน้ำ แต่จะไม่มีผลในเรื่องการกันน้ำมัน เพราะ ถือว่าพลังงานผิวบนผ้าเท่ากัน ถ้ายังมีความแตกต่างกันมากระหว่าง พลังงานผิวของ ๆ เหลว และพื้นผิวของผ้า ก็จะทำให้เกิดการต้านทานที่ดีเยี่ยม จะสังเกตได้ว่าสาร ฟลูออร์โรคาร์บอนโพลิเมอร์ มีค่าพลังงานผิวที่ต่ำมาก ถ้ามีการประยุกต์ใช้บนสิ่งทอ ไม่เฉพาะแต่การกันน้ำที่ดีเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังกันน้ำมันได้ดีมาก ๆ อีกด้วย คุณสมบัติเหล่านี้ได้แสดงความชัดเจนไว้แล้ว ตามตารางด้านบนว่า พลังงานผิวของสารฟลูออร์โรคาร์บอนต่ำกว่าน้ำ หรือสารไฮโดรคาร์บอน (แว็กซ หรือซิลิโคน) ผลิตภัณฑ์ ผ้าชุดเครื่องแบบทหาร กันน้ำ กันน้ำมันและกันเปื้อน ตกแต่งด้วยสารเคมีประเภท TEFLON ลงบนผ้าเป็นนวัฒกรรมนาโนเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อทำให้ชุดปฏิบัติการสามารถ กันน้ำ กันน้ำมันและกันเปื้อนได้ และมีความคงทนสูงกว่าชุดปฏิบัติการทั่วไป เป็นสารจำพวก ฟลูออร์โรคาร์บอน (FLUOROCAREON) และยังมีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้คราบเปื้อนฝังแน่น ทำความสะอาดง่ายทนทานต่อการซักได้ดี นวัฒกรรมนาโนเทคโนโลยี ทำให้รักษาคุณสมบัติเดิมของผ้าไว้ได้ดี ผ้ายังคงระบายความร้อนได้ดี สวมใส่สบาย
นวัตกรรม นาโนเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่กล่าวถึง การผสมอนุภาคนาโนของธาตุเงินเข้าไปในผลิตภัณฑ์ ทำให้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระงับกลิ่นเหม็นได้เป็นอย่างดี
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่นำไปเป็นชุดปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะมาจากเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ จะเกิดกลิ่นอับชื้นไม่พึงประสงค์ หลังจากมีการใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมบนร่างกายมนุษย์ เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเชื้อแบคทีเรีย เมื่อแบคทีเรียมีการย่อยสลาย เหงื่อที่อยู่บนร่างกายเราจะทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ การตกแต่งสารต้านเชื้อแบคทีเรีย SILVER PLUS จะทำให้ปัญหานี้หายไป โดยสารที่เป็นตัวออกฤทธิ์ ใน SILVER PLUS จะเป็น SILVER ION (AG+) ซึ่งเกาะอยู่บน TITANIUM DIOXIDE เมื่อร่างกายเรามีความชื้น SILVER ION จะหลุดออกจาก TITANIUM DIOXIDE เพื่อทำหน้าที่ตัดวงจรไม่ให้แบคทีเรียเกิดการเจริญเติบโต สุดท้ายจะไม่มีการขยายตัวเพิ่มของแบคทีเรียขณะที่แบคทีเรียตัวเก่าก็ตาย จึงทำให้สามารถแก้ไขกลิ่นอับชื้นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้
With SILVERPLUS® the RUDOLF GROUP offers a comprehensive safety pack for functional final textile finishes. The RUDOLF GROUP has set standards right from the start. The SILVERPLUS® products have been tested according to the most stringent criteria to be able to offer important guarantees for SILVERPLUS®-finished textiles. The 5 important components of the safety pack are:
Since 1992 the Oeko-Tex® label has been the sign for safe and skin-friendly clothing. End users have a lot of confidence in this label, which has thus become one of the most important decision criteria for purchasing textiles. With the Oeko-Tex®-listed SILVERPLUS® products RUCO-BAC AGP, RUCO-BAC AGL, RUCO-BAC EPA CONC the RUDOLF GROUP ensures that antimicrobially finished textiles will be Oeko-Tex-labelled if they fulfill all other Oeko-Tex®-criteria. See under: OEKO-TEX® - test for harmfull substances/chemically active products.
Due to its micropig mentation SILVERPLUS® anchors to textiles by itself in a resistant to washing and dry cleaning manner without the addition of chemical binder or adhesive systems. SILVERPLUS® for example deposits in the yarn interstices and is permanently bonded to the substrate due to strong attractive forces. This procedure is comparable with the deposit of soot particles, which, even after repeated wash cycles, cannot be removed by standard detergents. However, the active ingredient can also be permanently incorporated into special breathable, ecologically optimised coatings such as ECO-VENT® by the RUDOLF GROUP. Thus, depending on the product quantity applied, the structure and composition of the textiles to be finished as well as on washing temperatures and mechanics, the attainable resistance to washing is outstanding. Pure cotton fabric, finished with 5 g/l RUCO-BAC AGP, for example still shows 99.9% bacterial reduction after 100 x 60° C wash cycles, according to test method ASTM-E2149-01 (Dynamic Shake Flask test method, 24 h contact/shaking time against staphylococcus aureus) conducted by an independent test institute. If correctly applied, SILVERPLUS® will last a textile‘slife, which can even be prolonged by the silver finishand the simultaneous protection from odour-causing bacteria. 1. The best test method Lab test methods try to imitate reality, often with only mediocre success, but enormous expenditure. Certain test methods illustrate certain effective principles of the product. The experience made during wearing is the best test method by far to experience the mode of action of SILVERPLUS®.Test it yourself. Free trial, simple, no obligation Order a test pack of SILVERPLUS®. at www.silverplus.com. In a sensory test the renowned independent Hohenstein test institutes have found a distinctive difference between an unfinished used running shirt and a used running shirt that had been finished with SILVERPLUS®. 2. The fastest test: the milk test
3. A suitable lab test method The “Dynamic Shake Flask“ test method according to the test standard ASTM-E2149-01/10 is the best test method for demonstrating the antimicrobial effect of SILVERPLUS®. This test method imitates the wearing of textiles. Dynamic Shake Flask Test Test principle: The contact between antimicrobially finished textiles and bacteria in a bacterial suspension is ensured by thorough mechanical shaking. The antimicrobial active ingredient does hence not necessarily migrate out of the substrate. The full antimicrobial effect of SILVERPLUS® by means of free, antimicrobial silver ions is normally attained after a dwell time of 24 hours. 4. An unsuitable lab test method SILVERPLUS® is a non-migrating, antimicrobial technology, which means that it is only effective on the textile and does not form inhibition zones according to the Agar Diffusion Plate Test (SN 195 920). Test principle: The antimicrobial active ingredient moves out of the substrate (ideal case for migrating products) and forms an unpopulated zone (inhibition zone) in the environment. Only the migrating product shows an inhibition zone. For proving the effect of SILVERPLUS® the Agar Diffusion Plate Test is unsuitable.
|