Easy-Care

ผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องแบบผ้าสีพรางดิจิตอล IR กันยับ

จากการวิจัยเรื่องความคงทน และ เรื่องความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่ เครื่องแบบสนามจึงมีส่วนผสมของฝ้ายเป็นหลัก ข้อเสียของผ้าฝ้ายที่เป็นเส้นใยธรรมชาติ คือดูแลรักษายาก และยับง่าย

งานวิจัยและพัฒนาให้ผ้ามีคุณสมบัติ ต้านทานการยับเพื่อให้เครื่องแบบสนามดูแลรักษาง่าย

โดยการปรับปรุงโครงสร้างของเซลลูโลสของฝ้าย ให้สมบูรณ์เต็มที่ โดยการนำผ้า ผ่านกระบวนการทำเมอร์เซอร์ไรซ์ด้วยแอมโมเนียเหลว ซึ่งจะได้ความสมบูรณ์ของผ้าฝ้ายที่มีค่า Barium Number ไม่ต่ำกว่า 150 หน่วย ซึ่งกระบวนการผ่านแอมโมเนียเหลว เป็นกระบวนการที่นิยมใช้ในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งคำนึงถึงการสวมใส่สบาย ดูแลรักษาง่ายคงทนต่อการซัก และปลอดภัยต่อร่างกายผู้สวมใส่

ผ้าฝ้ายที่เป็นส่วนผสมหลักบนผ้ามีความสมบูรณ์สูงสุด ทำให้เส้นใยฝ้ายกลมขึ้น เกลียวของเส้นใยมีการคลายตัว และมีสปริงมากขึ้น ขนของเส้นใยน้อยลง และผ้าจะมีความคงทนต่อการยับดีขึ้น

นอกจากจะทำให้ผ้ายับยาก และรีดง่ายขึ้นแล้วยังทำให้ผ้ามีคุณสมบัติอื่น ๆ ด้วย เช่น

1. ผ้ามีความคงรูป ไม่หดตัว
2. ผ้ามีการคืนตัวจากการยับได้ดี
3. ดูแลรักษาง่าย ป้องกันการยับ
4. สีผ้าเปลี่ยนน้อยลง
5. มีความนุ่ม เรียบ สวมใสสบาย
6. ทำให้ผ้าเกิดขนหรือขุยน้อยลง
7. ผ้ายังคงให้ความเงามันสูงขึ้น
Cross-Sectional View of Cotton

The Treatment improves the cellulose with smoother surface, better anti-crease angles and soft handling (touch) Liquid ammonia prior to resin application will improve tensile tear strength abrasion and provide great shrinkage property

Mechanisms
1. Makes the inside of the fibers swell equally
2. Keeps the soft feel and no damage on fabric
3. Enhances tear resistance
4. Enhances stability
- Good Wash & Wear properties with minimal shrinkage by washing
5. Adds gentle, luster to the fibers
6. Enhances uniform dyeing properties
Effects of ammonia Processing

Softer touch, Increase of Tear Strength, Wrinkle Recovery Angle, Dimensional Stability Post Washing

Sales Update (1994 ~ 2011)

เครื่องจักร Liquid Ammonia Treatment ของบริษัท KYOTO MACHINERY ผลิตและส่งขายให้บริษัทผลิตผ้า ที่มีคุณภาพสูง ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ก่อนหน้านี้เครื่องจักร เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท มอร์ริสิน สหรัฐอเมริกา

ส่วนประเทศในแถบยุโรป จะใช้เครื่อง PERMAFIX LIQUID AMMONIA ของ LAFER S.P.A. ของประเทศอิตาลี การพัฒนาเครื่องจักรมีมาเมื่อปี ค.ศ. 2005 เป็นการพัฒนารูปแบบเครื่องจักรแต่หลังการ LIQUID AMMONIA TREATMENT ยังคงเหมือนเดิม

สำหรับโรงงานพิมพ์ย้อมผ้าไทย จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มทำการผลิตผ้าที่มีส่วนผสมของฝ้ายเป็นหลักเพื่อให้ฝ้ายมีคุณภาพสูงขึ้น ความสมบูรณ์ของฝ้ายถึงขั้นสูงสุด ทำให้นุ่มขึ้น มีเนื้อมากขึ้นการคืนตัวของเนื้อผ้าสูงขึ้นยับยาก คงรูป

เนื้อผ้าจะคงทน อายุการใช้งานสูงขึ้น เนื้อผ้าขึ้นขนและขุยผ้าน้อยลง เนื้อผ้าสีย้อมและพิมพ์บนผ้าดูเรียบสม่ำเสมอและคงทนสูงขึ้น เป็นการพัฒนาโครงสร้างของผ้าฝ้าย และเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของฝ้ายสูงสุดในยุคนี้และสำหรับอนาคตโดยการนำผ้าก่อนทำการย้อมและพิมพ์ ผ่านกระบวนการ AMMONIA PROCESSING บริษัทโรงงานพิมพ์ย้อมผ้าไทยจำกัด (มหาชน) เริ่มผลิตผ้าฝ้ายคุณภาพสูง มาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2003 ตลาดของผ้าที่ผ่านกระบวนการ AMMONIA PROCESSING ช่วงแรก ๆ จะเป็นประเทศในแถบยุโรป ทั้งหมด ตลาดในแถบเอเชีย เริ่มประมาณปี ค.ศ. 2008 ในประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มผลิตและใช้มากขึ้นในกลุ่มที่เป็นผ้าหนาประเภทยูนิฟอร์ม และเริ่มนำมาใช้กับผ้าสีลายพรางทหารบกเมื่อปี ค.ศ. 2010 เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของผ้าให้มีความคงทนทั้งเนื้อผ้า พร้อมทั้งสีและลายผ้าให้มีความคงทนมากขึ้น ดูแลรักษาง่ายคงรูปตลอดอายุการใช้งาน

การทำ AMMONIA PROCESSING เป็นการพัฒนา ชุดผ้าสีลายพรางให้กับกองทัพไทย เป็นชุดปฏิบัติการที่ดีที่สุด

การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของฝ้ายเปรียบเทียบผ้าที่ผ่านกับไม่ผ่านกระบวนการAMMONIA PROCESSING โดยสถาบันสิ่งทอไทย

นอกจากความสมบูรณ์ของฝ้าย  ที่มองเห็นด้วยภาพถ่าย CROSS SECTIONAL แล้ว ยังมีการตรวจสอบความสมบูรณ์ของผ้าฝ้ายโดยการตรวจสอบการดูดซึม BARIUM ACTIVITY NUMBER ถ้าสูงเกิน 150 จะเรียกว่าเป็นการทำ MERCERIZATION ที่สมบูรณ์การทำ MERCERIZATION ที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการเมอร์เซอร์ไรซ์ ด้วยโซดาไฟ ระบบแรกก่อน และต่อด้วยการเมอร์เซอร์ไรซ์ด้วยแอมโมเนียเหลว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลลูโรสของฝ้ายจะเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการผลิต

การตรวจสอบ BARIUM  NUMBER โดยสถาบันสิ่งทอไทย ผ้าที่ผ่านกระบวนการ LIQUID  AMMONIA MERCERIZATION TREATMENT ค่า BARIUM NUMBER สูงขึ้น แสดงถึงความสมบูรณ์ในการปรับปรุงโครงสร้างของผ้าที่เป็นไปตามเอกสารอ้างอิง UNITED STATES PATENT LAWRENCE ET AL

จากการเตรียมผ้าที่ผ่านกระบวนการ เมอร์เซอร์ไรซ์ด้วยแอมโมเนียเหลว  นำผ้าเข้าสู่กระบวนการ  ย้อมและพิมพ์ผ้า   สีพรางดิจิตอล (COMOUFLAGE)

แล้วผ่านกระบวนการตกแต่งด้วยสารเรซินเพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติต้านทานการยับ และความคงทนของผ้าหลังการใช้งานให้สูงขึ้นให้เนื้อผ้ามีคุณสมบัติต้านทานการยับ ยับยาก ดูแล รักษาง่าย เมื่อใช้งานและภายหลังการซัก ซึ่งเป็นมาตรฐานเบื้องต้นของประเทศทางยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

กระบวนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถผลิตผ้าที่เกือบจะไม่ต้องรีดเลยการที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผ้า และความแข็งแรงของผ้าเริ่มต้น ผ้าที่ผ่านกระบวนการแอมโมเนียเหลว จะมีผลดีต่อการกันยับ และความคงทนต่อการขัดถู สูตรในการทำกระบวนการ กันยับจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 อย่าง คือ

1. สารเรซิน (CROSS-LINKING AGENT)
2. สารเร่งปฏิกิริยา (CATALYST)
3. สารแต่งเติมอื่น ๆ (ADDITIVES)
4. สารลดแรงตึงผิว (SURFACTANT)

สารเรซินจะเป็นสารที่เกิดพันธะที่ติดแน่นกับเส้นใยเซลลูโลสโดยการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี  ผลที่ได้คือ ฝ้ายที่เป็นส่วนผสมหลักบนผ้าจะไม่พองตัวขึ้นมากในน้ำ  จึงทำให้สามารถคงรูปทรงอยู่ได้ดี

สารเรซินส่วนมากจะเป็นสารจาก DMDHEU (DIMETHYLOL DIHYDROXY ETHYLENE UREA)

กระบวนการผลิต

สูตรเคมีและกระบวนการเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการที่จะประสบความสำเร็จในการทำกระบวนการ DRY CURING PROCESS หรือ COMFORT FINISH PROCESS DRY CURING PROCESS ในกระบวนการ DRY CURING ปฏิกิริยา เชื่อมขวางของเรซิน (CROSS LINKING REACTION) จะเกิดขึ้นบนผ้าในสภาวะแห้ง หมายความว่า ผ้าจะจุ่มลงในสารเคมี แล้วผ่านลูกกลิ้งบีบอัด  จากนั้นจะทำแห้งและผนึกสารเคมี ในกรณีของกระบวนการ DRY CURING ทั่วไปนั้น ผ้าจะถูกทำให้แห้งบนเครื่อง STENTER แล้วไปผนึกสารเคมีบนเครื่อง CURING MACHING ขั้นตอนเดียว และจากนั้นก็จะเข้ากระบวนการ SANFORIZATION เพื่อทำให้ผ้ามีความนุ่ม คงรูปมากขึ้น สัมผัสดี

การตกแต่งกันยับ เป็นการตกแต่งเพื่อเติมให้ผ้ามีคุณสมบัติไม่ยับง่ายเมื่อสวมใส่ และภายหลังการซักทำให้ผ้ารีดง่ายขึ้น หรือถึงขั้นไม่ต้องรีดเลยภายหลังการซักเพื่อประหยัดเวลาและพลังงาน ดูแลรักษาก็ง่าย

ชื่อที่ใช้เรียกการตกแต่งกันยับ เช่น

EASY – CARE ดูแลรักษาง่าย
EASY  TO  IRON รีดง่าย
NON  IRON ไม่ต้องรีด
WASH  AND  WEAR ซักแล้วใส่ได้เลย
WRINKLE FREE ไม่มีรอยยับ
DURABLE  PRESS คงความเรียบ

ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันแพร่หลายในทางการค้า

ผ้าที่ผ่านการตกแต่งกันยับ นอกจากจะทำให้ผ้ายับยากและรีดง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้ผ้ามีคุณสมบัติอื่น ๆ ด้วยเช่น

- ผ้ามีความคงรูป  ไม่หดตัว เมื่อนำไปซักหลาย ๆ ครั้ง
- ผ้ามีการคืนตัวจากการยับได้ดี  ทั้งในภาวะแห้งและภาวะเปียก
- ดูแลรักษาง่าย  ป้องกันการยับ          ขณะสวมใส่และขณะซัก
- รักษารูปทรงของผ้าได้ดี
- สีผ้าเปลี่ยนน้อยหลังการซัก ทำให้ผ้าดูใหม่และใช้งานได้นาน
- มีความนุ่ม เรียบ สวมใส่สบาย และคงสภาพดูดีตลอดการสวมใส่
- ทำให้ผ้าเกิดขนหรือขุยน้อยลงโดยเฉพาะในผ้าใยผสมระหว่างฝ้ายและโพลิเอสเตอร์
- ผ้ายังคงมีความเงามันภายหลังการซัก

การตกแต่งกันยับมีความสำคัญกับผ้าที่ยับง่าย  เช่นผ้าฝ้าย  เรยอน และผ้าเส้นใยผสมของเส้นใยทั้ง 2 เพราะโครงสร้างของเส้นใยเซลลูโลส  จะประกอบด้วยส่วนของโมเลกุลที่เรียงขนานกันอย่างเป็นระเบียบ (crystalline) และส่วนที่ไม่เป็นระเบียบหรืออสัณฐาน (amorphous) โดยส่วนที่เป็น amorphous จะยืดและหดตัวได้ ดูดซึมน้ำได้และสามารถเกิดการหดตัวในขณะทำการซักล้าง และโมเลกุลของเส้นใยเซลลูโลส สามารถเลื่อนไถลได้ง่ายเมื่อมีแรงอัดหรือกดทับ

สารเคมีที่ใช้ในการตกแต่งกันยับ รู้จักในชื่อของสารเรซิน (Rasin) หรือสารเชื่อมขวาง (Crosslinking agent) ดังนั้นการตกแต่งกันยับด้วยสารเรซิน จึงเป็นการทำให้เรซินที่เคลือบอยู่ที่พื้นผิวของเส้นใยทำปฏิกิริยากันเอง เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นมาภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและมีสารเร่งปฏิกิริยาจากนั้นโมเลกุลใหญ่นี้จะทำปฏิกิริยาเกิดการเชื่อมขวาง (Corsslinking) กับส่วนที่เป็น amorphous ของเส้นใย ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นร่างแห ทำให้เส้นใยมีการขยายตัวน้อยลงเมื่อเปียกน้ำ การที่เรซินเข้าไปสร้างพันธะกับเส้นใยและยึดโมเลกุลของเซลลูโลสไว้ไม่ให้เส้นใยเกิดการพองตัว (non-swelling) และขยับเขยื้อนไปจากเดิมขณะซัก จึงทำให้ไม่หด นอกจากนี้การยึดระหว่างโมเลกุลของเซลลูโลสด้วยเรซิน ทำให้สามารถดึงโมเลกุลของเซลลูโลสที่ถูกทำให้เคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมเนื่องจากถูกแรงกดทับ บิดขณะสวมใส่หรือซักให้กลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม ผ้าจึงไม่ยับหรือเสียรูปทรง

ภาพแสดง : ไดอะแกรมการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารเรซินกับเส้นใยเซลลูโลสทำให้เกิดการ เชื่อมกันเป็นร่างแห
หมายเหตุ  :  สารเรซิน คือสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาร่างแห ระหว่างเส้นใย-เส้นใย (เซลลูโลส)  ด้วยความร้อน และสภาวะที่เหมาะสม

สารเรซินที่ใช้ในการตกแต่งเพื่อกันยับผ้าฝ้ายนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ที่สำคัญได้แก่

1. สารเรซินยูเรีย – ฟอร์มัลดีไฮด์ (Urea-formaldenyde resins)
2. สารเรซินเมลามิน – ฟอร์มัลดีไฮด์ (Melamine-fornaldehyde resins)
3. สารประกอบเมทธิลออลและอนุพันธ์ (Methylol compounds and derivatives)
4. สารประกอบไกลออกซอล (Glyoxal compounds)
5. กรดโพลีคาร์บอกซิลิก และกรดโพลีคาร์บอกซิลิกดัดแปลง (Polycarboxylic acid and modified polycarboxylic acid)

ในช่วงเริ่มแรกสารเรซินกันยับที่ใช้ในการตกแต่งกันยับคือ ยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ และเมลามีนฟอร์มัลดีไฮด์ ต่อมาได้พัฒนาสารเรซินประเภท Methylol ซึ่งสารระหว่างหมู่ N-methylol group ของเรซินเข้าเชื่อมขวางกับหมู่ Hydroxyl group ในโครงสร้างส่วนที่เป็น amorphous ของเส้นใยเซลลูโลส เกิดเป็นพันธะแบบสารประกอบอีเธอร์ อย่างไรก็ดีอนุพันธ์ของ methylol ดังกล่าวสามารถปลดปล่อยฟอร์มัลดีไฮด์อิสระได้ เนื่องจากทำการอบผนึกไม่เพียงพอ และเกิดไฮโดรไลซิสที่อุณหภูมิสูงและ เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับภายใต้สภาวะบางสภาวะ เช่น การอบหรือรีดด้วยความร้อน การเก็บและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป

ฟอร์มัลดีไฮด์ที่เกิดขั้นนั้นถ้ามีปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เยื่อตา เยื่อบุโพรงจมูกได้ และฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็ง ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้หลายประเทศออกกฎบังคับอนุญาตไม่ให้มีหรือมีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพียงเล็กน้อย ทำให้มีการปรับปรุงพัฒนา กระบวนการตกแต่ง ปรับปรุงสารเรซินกันยับ หากเปรียบเทียบระหว่างสารประกอบยูเรีย-ฟอร์มับดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารรุ่นแรกและสารไดเมทธิลออลไดไฮดรอกซีเอทธิลีนยูเรีย (Dimethylol dihydroxy ethylene urea / DMDHEU) ซึ่งใช้ในปัจจุบันและ ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากสาร DMDHEU น้อยกว่าสารประกอบตัวแรกถึง 10-30 เท่า

สารเรซินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันเป็นกลุ่มไกลออกซอลเรซิน (Glyoxal resin) โดยตัวพื้นฐานคือ DMDHEU (Dinethyolol Dihydroxy Ethylene Urea) การที่ไกลออกซอลได้รับความนิยม เนื่องจากตัวเรซินเองมีความเสถียร เก็บได้นานทั้งก่อนและหลังผสมตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) พันธะระหว่างเรซินและเส้นใยมีความแข็งแรงยากต่อการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (hydrolysis) ทำให้ได้ค่าฟอร์มัลดีไฮด์ที่หลงเหลือในผ้าต่ำ (Low formaldehyde) และคุณสมบัติที่เกิดขึ้นมีความคงทน (Durable) กว่าการใช้สารพวกยูเรีย – ฟอร์มัลดีไฮด์ เรซิน

การทดสอบ ผลคุณสมบัติด้านการยับของผ้าในห้องทดสอบ ใช้มาตรฐานสากล AATCC 124-2009 ซึ่งจะบอกระดับความเรียบและรอยยับแตกต่างกัน มี 5 ระดับ (DURABLE PRESS RATING)
ระดับเกรด            5              เป็นลักษณะที่เรียบที่สุด ไม่มีความยับเลย
ระดับเกรด            4              เป็นลักษณะเรียบ
ระดับเกรด            3.5          เป็นลักษณะเรียบ แต่เหมือนผ้าไม่ถูกรีด
ระดับเกรด            3              เป็นลักษณะค่อนข้างเรียบเหมือนผ้าไม่ถูกรีด
ระดับเกรด            2              เป็นลักษณะค่อนข้างยับมาก
ระดับเกรด            1              เป็นลักษณะที่ยับยู่ยี่มากที่สุด

การผลิตผ้าพรางทหารกันยับ ที่ผ่านกระบวนการ LIQUID AMMONIA MERCERIZATION TREATMENT และผ่านกระบวนการตกแต่ง ด้วยสูตรสารเคมี GLYOXAL RESIN กันยับ แล้วนำผ้าทดสอบ ตามมาตฐานสากล AATCC 124-2009 ได้ระดับความเรียบ มากกว่า 3.5